วันพฤหัสบดีที่ 1 ตุลาคม พ.ศ. 2558

สกุลเงินบาทของราชอาณาจักรไทย



เงินบาท (ตัวละติน: Baht ; สัญลักษณ์: ฿ ; รหัสสากลตาม ISO 4217: THB) เป็นสกุลเงินตราประจำชาติของประเทศไทย เดิมคำว่า "บาท" เป็นหนึ่งในคำใช้เรียกหน่วยการชั่งน้ำหนักของไทย ปัจจุบันยังมีใช้ในความหมายเดิมอยู่บ้าง โดยเฉพาะในการซื้อขายทองคำ เช่น "ทองคำวันนี้ราคาขายบาทละ 15,000 บาท" หมายถึงทองคำหนักหนึ่งบาทสามารถขายได้ 15,000 บาท ในสมัยที่เริ่มใช้เหรียญครั้งแรก เงินเหรียญหนึ่งบาทนั้นเป็นเงินที่มีน้ำหนักหนึ่งบาทจริง ๆ ไม่ได้ทำด้วยทองแดงนิกเกิลเช่นในปัจจุบัน

เหรียญไทยนั้นผลิตออกมาโดยสำนักกษาปณ์ กรมธนารักษ์ กระทรวงการคลัง โดยสามารถผลิตออกใช้ได้ไม่จำกัดจำนวนโดยไม่ต้องมีสิ่งใดมาค้ำประกัน เพราะโลหะที่ใช้ผลิตเหรียญกปาษณ์นั้นมีค่าในตัวเองอยู่แล้ว ส่วนธนบัตรนั้นผลิตและควบคุมการหมุนเวียนโดยธนาคารแห่งประเทศไทย การผลิตธนบัตรนำออกใช้จะมีหลักเกณฑ์วิธีที่เหมาะสมเพื่อให้เศรษฐกิจของชาติมีเสถียรภาพ

ตามข้อมูลของสมาคมโทรคมนาคมทางการเงินระหว่างธนาคารทั่วโลก (SWIFT) สกุลเงินบาทได้รับการอันดับเป็นสกุลเงินอันดับที่ 10 ของโลกที่ใช้ในการชำระเงินระหว่างประเทศ (most frequently used currencies in World Payments)

ประวัติศาสตร์สกุลเงินของประเทศไทย

ระบบสกุลเงินไทยในปัจจุบัน ซึ่งเงินหนึ่งบาท มีค่าเท่ากับ 100 สตางค์ เริ่มใช้ปี พ.ศ. 2440 ในสมัยรัชกาลที่ 5 ก่อนหน้านั้นเงินตราไทยใช้ระบบดังนี้ คือ หาบ, ชั่ง, ตำลึง, บาท, มายน หรือมะยง, สลึง,  เฟื้อง, ซีก, เสี้ยว, อัฐ, โสฬส หรือ โสฬส, เบี้ย

เหรียญของสกุลเงินของประเทศไทย

ในปัจจุบันมีการผลิตเหรียญกษาปณ์อยู่ทั้งหมด 9 ชนิดคือ เหรียญ 1, 5, 10, 25 และ 50 สตางค์, 1, 2, 5 และ 10 บาท โดยเหรียญ 25 และ 50 สตางค์, 1, 2, 5 และ 10 บาท เป็นเหรียญที่ออกใช้หมุนเวียนทั่วไป ส่วนเหรียญ 1, 5 และ 10 สตางค์ ไม่ได้ออกใช้หมุนเวียนทั่วไป แต่ใช้ภายในธนาคารเท่านั้น

แต่ในปัจจุบันได้เกิดปัญหาราคาวัตถุดิบในการผลิตเหรียญสูงกว่าราคาเหรียญ ทำให้เกิดการลักลอบหลอมเหรียญไปขาย หรือบางครั้งก็เกิดปัญหาการใช้เหรียญผิด เพราะรูปร่างและสีของเหรียญบางชนิดนั้นคล้ายกัน (เช่น เหรียญ 1 บาท กับ เหรียญ 2 บาท แบบเก่า) ดังนั้น ใน พ.ศ. 2552 กระทรวงการคลัง ได้เปลี่ยนแปลงวัตถุดิบในการผลิตเหรียญบางชนิด เพื่อป้องกันการหลอมเหรียญ สร้างความแตกต่างของเหรียญ และลดความยุ่งยากในการใช้เหรียญเป็นดังนี้ คือ เหรียญ 1 สตางค์, เหรียญ 5 สตางค์, เหรียญ 10 สตางค์, เหรียญ 25 สตางค์, เหรียญ 25 สตางค์ (แบบ 2), เหรียญ 50 สตางค์, เหรียญ 50 สตางค์ (แบบ 2), เหรียญ 1 บาท, เหรียญ 2 บาท, เหรียญ 5 บาท, เหรียญ 10 บาท, เหรียญ 10 บาท(แบบ 2)

ธนบัตรของสกุลเงินของประเทศไทย

นับแต่เริ่มนำธนบัตรออกใช้เมื่อพุทธศักราช 2445 จนถึงปัจจุบัน ประเทศไทยได้นำธนบัตรออกใช้รวมทั้งสิ้น 16 แบบ ซึ่งแบ่งเป็นธนบัตรก่อนจัดตั้งโรงพิมพ์ธนบัตร ธนาคารแห่งประเทศไทย ได้แก่ ธนบัตรแบบ 1-10 รวมทั้งธนบัตรแบบพิเศษ และธนบัตรที่ผลิตจากโรงพิมพ์ธนบัตร ธนาคารแห่งประเทศไทย ได้แก่ ธนบัตรแบบ 11-16

ธนบัตร ที่ใช้ในประเทศไทยในปัจจุบันมีหลายชนิด แต่หลายชนิดเป็นธนบัตรที่ระลึกที่มีจำนวนจำกัด และไม่ถูกใช้ในการหมุนเวียนทั่วไป เช่น ธนบัตรที่ระลึกมูลค่า 60 บาท เป็นต้น ส่วนธนบัตรที่ถูกใช้หมุนเวียนทั่วไป และยังมีการผลิตอยู่อย่างต่อเนื่องในปัจจุบัน มี 5 ชนิด ได้แก่ ธนบัตร 20, 50, 100, 500 และ 1000 บาท

ธนบัตรและเหรียญสกุลเงินของประเทศไทย



แหล่งข้อมูล : จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี

วันพุธที่ 26 พฤศจิกายน พ.ศ. 2557

สกุลเงินของประเทศเนการา บรูไน ดารุสซาลาม



สกุลเงินของประเทศเนการา บรูไน ดารุสซาลาม


ประเทศเนการา บรูไน ดารุสซาลาม(Negara Brunei Darussalam แปลว่า ดินแดนแห่งความสงบสุข) มีสกุลเงินของประเทศชื่อว่า ดอลลาร์บรูไน (Brunei dollar) (BND) ซึ่งเคยเป็นสกุลเงินของประเทศสุลต่านบรูไน(Sultanate Brunei อันเป็นชื่อเดิมของประเทศ) มาตั้งแต่ปี ค.ศ. 1967

ปกคิจะเขียนรูปย่อหรือสัญลักษณ์ของเงินสกุลดอลลาร์บรูไนว่า $ หรือ B$ 1 ดอลลาร์บรูไน แตกย่อยออกเป็น 100 เสน(Sen) ในภาษามาเลย์ หริอ เซนต์(Cents) ในภาษาอังกฤษ

สกุลเงิน ดอลลาร์บรูไน ได้ผูกโยงไว้กับดอลลาร์สิงคโปร์ในอัตราส่วน 1: 1 ทั้งนี้เพราะประเทศสิงคโปร์เป็นหนึ่งในบรรดาประเทศคู่ค้าหลักของบรูไน

ประวัติศาสตร์ของสกุลเงินของบรูไน

สกุลเงินในยุคโบราณของบรูไน ได้แก่ หอยคาวรี(Cowrie shells)นอกจากนั้นแล้วบรูไนก็ยังมีชื่อเสียงในเรื่องการผลิตป้านน้ำชาบรอนซ์ ซึ่งป้านน้ำชานี้ได้ถูกใช้เป็นสกุลเงินสำหรับแลกเปลี่ยนสินค้าตามชาวฝั่งของแถบบอร์เนียวเหนือ

บรูไนเคยออกเหรียญดีบุกมีชื่อว่า ปิตี(Pities) ในศักราชอิสลาม 1274 (ตรงกับ ค.ศ. 1868) และต่อมาได้ออกเหรียญชนิด 1 เซนต์ ในอิสลามศักราช 1304(ตรงกับ ค.ศ. 1888)  ซึ่ง 1 เซนต์มีค่าเท่ากับ 1 ในร้อยของดอลลาร์สเตรตส์( Straits dollar)

เมื่อได้ตกเป็นรัฐอารักขาของประเทศอังกฤษเมื่อต้นคริสต์ศตวรรษที่ 20 บรูไนก็ได้ใช้เงินสกุล Straits dollar และต่อมาได้ใช้ เงินสกุล Malayan dollar  และสกุลเงินเงิน  Malaya and British Borneo dollar ตามลำดับจวบจนถึง ค.ศ. 1967 หลังจากนั้นมาบรูไนก็ได้เริ่มใช้สกุลเงินของตนเอง

เงินสกุลดอลลาร์บรูไน ได้เข้าแทนที่เงินสกุล Malayan and British Borneo dollar เมื่อปี ค.ศ. 1967 ภายหลังจากที่ได้ก่อตั้งประเทศมาเลเซียและแยกสิงค์โปร์ออกเป็นประเทศเอกราช 

เงินสกุลริงกิต(ringgit) ของมาเลเซีย มีอัตราแลกเปลี่ยน 1 ริงกิตเท่ากับ 1 ดอลลาร์ สิงคโปร์ และ 1 ดอลลาร์บรูไนมาจนถึงวันที่ 23 มิถุนายน ค.ศ. 1973 ปัจจุบันประเทศบรูไนและประเทศสิงคโปร์ยังคงอัตราแลกเปลี่ยนนี้อยุ่ต่อไป

ส่วนเหรียญกษาปณ์ได้ถูกนำมาใช้ในบรูไนตั้งแต่คริสต์ศตวรรษที่10 และ Straits dollar ได้ถูกนำมาใช้ในบรูไนตั้งแต่ปี ค.ศ. 1906
ประวัติการใช้เหรียญกษาปณ์ในบรูไน

เนื่องจากว่าบรูไนมีความสัมพันธ์อย่างใกล้ชิดกับประเทศจีน เหรียญชนิดแรกที่ถูกนำมาใช้ในบรูไนคือเหรียญจีน เหรียญชนิดจีนนี้เมื่อตอนแรกเริ่มนั้นมีชิ่อว่าเหรียญ ปิตี(Pities) แต่ต่อมาเหรียญนี้ถูกเรียกว่า กู(Kue) เมื่อเหรียญปิตีถูกนำเข้ามาใช้ในบรูไน เหรียญปิตีของบรูไน มีประทับตราด้านหน้าของเหรียญเป็นสุลต่านแห่งบรูไน(Sultanate of Brunei) และด้านหลังของเหรียญเป็นตราพระเศวตฉัตร เหรียญเหล่านี้ได้ถูกนำมาใช้ตั้งแต่คริสต์ศตวรรษที่ 16 จวบจนกระทั่งคริสต์ศตวรรษที่ 19 

เหรียญโบราณของอิสลามก็มีชื่อว่า ปิตี นี้เหมือนกัน เหรียญอีกชนิดหนึ่งที่ถูกนำมาใช้ในบรูไน ได้แก่ เหรียญ Duit besi (แปลลตามตัวอักษรว่า เงินเล็ก) ทั้งนี้ก็เพราะในสมัยนั้นถือว่าเหล็กเป็นสิ่งที่มีค่าจึงได้ถูกนำมาใช้เป็นเงิน

เงินเหรียญกษาปณ์สุดท้ายที่ถูกนำมาใช้ก่อนที่จะมาใช้เงินสกุล Straits Settlement ก็คือ Duit Bintang หรือที่เรียกในอีกชื่อหนึ่งว่า Star coin ซึ่งที่เรียกว่า Star coin นั้นก็เพราะด้านหน้าของเหรียญเป็นรูปดาว เป็นเหรียญที่ผลิตที่เมืองเบอร์มิงแฮม ประเทศอังกฤษ เมื่อปี ค.ศ. 1887 เป็นเหรียญที่ทำด้วยทองแดง

เมื่อได้นำเหรียญ Straits Settlement มาใช้แล้ว เหรียญเดิมๆที่ใช้อยู่ในบรูไนก็ได้เลิกใช้เป็นสกุลเงินหมุนเวียน

ประวัติการใช้ธนบัตรในบรูไน
เงินสกุล Straits dollar ได้ถูกนำมาใช้ในบรูไนในปี ค.ศ. 1966 และต่อมา Straits dollarนี้ก็ได้ถูกแทนที่โดยเงินสกุล Malayan dollar ซึ่งถูกนำมาใช้ในอาณานิคมของอังกฤษ(British colonies) และ บรูไน ในปี ค.ศ. 1939 และได้ถูกใช้แทน Straits dollar ยกเว้นเหรียญ 1 เซนต์ที่เป็นเหรียญบรอนซ์

ธนบัตรของบรูไน
เมื่อวันที่ 12 มิถุนายน ค.ศ. 1967 รัฐบาลบรูไนได้ผลิตธนบัตรชนิดต่างๆออกใช้ คือ ธนบัตรชนิด 1 ดอลลาร์,ธนบัตรชนิด 5 ดอลลาร์, ธนบัตรชนิด 10 ดอลลาร์, ธนบัตรชนิด 50 ดอลลาร์, และธนบัตรชนิด 100ดอลลสาร์ ต่อมาได้นำธนบัตรชนิด 500 ดอลลาร์ และธนบัตรชนิด 1000 ดอลลาร์ออกใช้ในปี ค.ศ. 1979 

ต่อมาในปี ค.ศ. 1989 ชื่อประเทศในธนบัติได้ถูกเปลี่ยนเป็น Negara Brunei Darussalam อันเป็นชื่อทางการใหม่ของประเทศบรูไน ส่วนภาษามาเลย์ในธนบัตรก็ได้เปลี่ยนใหม่จากเดิมสำหรับคำว่า State of Brunei, Abode of Peace ส่วนธนบัตรชนิด 10,000 ดอลลาร์ ก็ได้ถูกนำมาใช้ในปีเดียวกันนี้ ธนบัตรทุกชนิดมีภาษามาเลย์(ทั้ง Rumi และJawi) และภาษาอังกฤษ

ตัวอย่างธนบัตรของประเทศบรูไน




อัตราแลกเปลี่ยนระหว่างดอลลาร์บรูไนกับเงินบาทไทย คือ 1 ดอลลาร์บรูไน= 25.20 บาท